แผ่นดินไทยก่อนประวัติศาสตร์  

Posted by Thailand. in


แผ่นดินไทยก่อนประวัติศาสตร์
          สมัยก่อนประวัติศาสตร์ก่อนที่มนุษย์จะคิดค้นประดิษฐ์ตัวอักษรและจดบันทึกด้วยตัวหนังสือเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์  คือกว่า  3,000 ปีมาแล้วบนแผ่นดินไทยในปัจจุบันนั้นมีสัตว์และมนุษย์อาศัยอยู่แล้ว เช่น ซากไม้กลายเป็นหินที่มีกระดูกปลาหรือเปลือกหอยโบราณติดอยู่  โครงกระดูกไนโนเสาร์อายุกว่า  100 ล้านปีที่ได้ขุดพบที่บริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์และขอนแก่น  การค้นพบมนุษย์โบราณเก่าที่สุดประมาณ    หมื่นปีที่เพิงหลังโรงเรียน  จังหวัดกระบี่  การพบขวานหินอายุราว 5,000 ปีที่กาญจนบุรี  และการพบหม้อลายเขียนสีที่บ้านเชียงอายุราว 3,000 ปี จึงพิสูจน์ได้ว่าผืนแผ่นดินไทยนี้ได้มีประวัติศาสตร์มายาวนาน .....
ไดโนเสาร์อยู่บนแผ่นดินไทยกว่าร้อยล้านปี
                ไม่น่าเชื่อว่าดินแดนภาคอีสานของไทยนั้น  เคยเป็นที่อยู่ของไดโนเสาร์  จระเข้ยักษ์เต่าโบราณ  ปลาดึกดำบรรพ์  และช้างป่าโบราณหลายชนิดจำนวนมาก  แต่ได้สูญพันธุ์ไปโดยไม่ทรายสาเหตุ  ตามธรรมดาซากสัตว์ที่ตายไปจะผุพังหรือสลายไปหมด  แต่มีโอกาศหนึ่งในล้านที่ซากสัตว์นั้นจะกลายเป็นหินได้  ถ้าอยู่ใกล้แหล่งน้ำที่มีสารพวกซิลิก้า หรือแคลไซด์ แล้วมีทรายหรือโคลนมาทับถม  ซิลิก้าจะเข้าซึมเข้าไปในกระดูกสัตว์กระดูกจะกลายเป็นหินเรียกว่า  ฟอสซิล (fossil)
                ในแผ่นดินไทยที่บริเวณวัดสักกะวัน  เชิงภูกุ้มข้าว  อ. สหัสขันธ์  จ.กาฬสินธุ์เมื่อ พ.ศ.  2537  ได้ขุดพบฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยจำนวน 600 ชิ้น อายุประมาณ 130 ล้านปี  ส่วนอุทยานแห่งชาติ  อ. ภูเวียง จ.ขอนแก่นนั้น  เมื่อ พ.ศ. 2519 มีการค้นพบฟอสซิลหรือกระดูกที่กลายเป็นหินของไดโนเสาร์พันธุ์ภูเวียงโกซอรัสสิรินธรเน่  (Phuwiangosaurus sirindhrnae) ประเภทกินพืช ยาวประมาณ 15 – 18 เมตร และสยามโมซอรัส สุธีธรนิ (Siamosaurus  suteetorni)ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ประเภทไทรันโนซอรัสหรือไทรเร็กซ์ชนิดกินเนื้อ ดุร้าย

This entry was posted on วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554 at 12:07 and is filed under . You can follow any responses to this entry through the comments feed .

0 ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น